หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

    ภาษาไทย     หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

    ภาษาอังกฤษ Master of Nursing Science Program in Adult and Gerontological Nursing

ภาษาไทย :     พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)

                      พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)

ภาษาอังกฤษ : Master of Nursing Science (Adult and Gerontological Nursing)

                       M.N.S. (Adult and Gerontological Nursing)

ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า       36       หน่วยกิต

1. รูปแบบ     

หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก 2      

2. ภาษาที่ใช้

ภาษาไทย

3. การรับเข้าศึกษา

นักศึกษาไทย

4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ

5. การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีความเชื่อว่า การผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 และปรัชญาการอุดมศึกษาไทยและระบบอุดมศึกษาใหม่ด้านการสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคน พ.ศ. 2564 บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่สามารถนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ โดยความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ความคิดเป็นเครื่องมือของการกระทำ จะนำไปสู่การรู้ การจำ ประสบการณ์และการปฏิบัติซึ่งเป็นสิ่งที่พัฒนาไปตามพัฒนาการของชีวิต ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวข้องกันกับสิ่งแวดล้อม สติปัญญาหรือความรู้เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์บรรลุเป้าหมายของชีวิต และช่วยพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นหรือเป็นประโยชน์ต่อชีวิต ดังนั้น การจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จึงมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้อย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ในด้านการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง โดยบูรณาการหลักฐานเชิงประจักษ์ ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ผลิตและสร้างองค์ความรู้ ผลงานวิจัย หรือนวัตกรรมทางการพยาบาลที่ผสมผสานเทคโนโลยีทางสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพและผลลัพธ์ทางการพยาบาล ฝึกปฏิบัติการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรมุ่งจัดการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การฝึกฝนทักษะ การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นประชาธิปไตยของผู้เรียน พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข การพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาล และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะทางวัฒนธรรมและทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ศึกษา วิจัย วิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพและสังคมศาสตร์ เป็นรากฐานในการพัฒนาคน ชุมชน สังคมของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

มหาบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จะมีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ และความเชี่ยวชาญ ดังนี้

1) มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพทางการพยาบาล รวมทั้งจริยธรรมการวิจัยและจริยธรรมเชิงวิชาการ

 2) มีความรู้ความสามารถและทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะในสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง โดยบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล วิทยาศาสตร์สุขภาพที่ทันสมัย ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ สังคมวัฒนธรรม ประเด็นทางจริยธรรม การให้คุณค่าของผู้ป่วย และการให้เหตุผลทางคลินิก เพื่อมุ่งให้การพยาบาลแบบองค์รวมแก่บุคคลวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยซับซ้อนจากปัญหาสุขภาพชายแดน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคอุบัติใหม่ โรคจากการประกอบอาชีพ อุบัติเหตุ และความเจ็บป่วยที่เกิดจากความไม่สงบในพื้นที่ชายแดน หรือภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติ ทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤต เรื้อรัง และระยะสุดท้าย

3) มีความรู้ความสามารถและทักษะในการผลิตและสังเคราะห์องค์ความรู้ สร้างสรรค์งานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการพยาบาลที่ผสมผสานเทคโนโลยีทางสุขภาพในประเด็นที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เลือกสรร ร่วมกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในปัญหาทางสุขภาพอย่างลึกซึ้ง และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ตลอดจนเผยแพร่ผลงานและถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพสู่พยาบาล ผู้รับบริการพยาบาลวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ครอบครัว และประชาชนทั่วไปได้อย่างมีมาตรฐานและสู่สากล

4) มีทักษะทางวัฒนธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง

5) เป็นผู้นำทีมการพยาบาลและมีทักษะการทำงานเป็นทีม โดยการให้คำปรึกษา      การกำกับ การเสริมสร้างแรงจูงใจ และการประสานความร่วมมือกับทีมการพยาบาลในคลินิก ทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์และคุณภาพทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ

6) มีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะการสื่อสาร และการจัดการเชิงระบบ เพื่อนำไปใช้ในการวิจัย ปรับปรุงคุณภาพ และระบบการพยาบาล                             

7) มีความสามารถในการเรียนรู้บนระบบเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งพัฒนาตนเอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง

เรียนแบบลงทะเบียนปกติใช้เวลาเต็ม 2 ปีการศึกษา

คำอธิบายรายวิชา
04-016-201 แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล                        2(2-0-4)
 พัฒนาการของศาสตร์ทางการพยาบาล มโนมติหลักทางการพยาบาล แนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาล แนวคิดทฤษฎีที่เลือกสรรจากศาสตร์สาขาอื่น จริยศาสตร์ทางการพยาบาล แนวคิดทฤษฎีการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง การวิเคราะห์และประเมินทฤษฎีที่เลือกสรร

04-016-201 Nursing Concepts and Theories          2(2-0-4)
Development of nursing sciences; metaparadigm of nursing; theoretical concept of nursing; theoretical concepts of other disciplines; nursing ethics; theoretical concept of transcultural nursing and their applications into advanced nursing practice; selected theory analysis and evaluation
04-016-202 วิธีวิทยาการวิจัยทางการพยาบาล                          3(2-2-5)
ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัย จริยธรรมและจรรยาบรรณของนักวิจัย การทบทวนหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบ การประเมินคุณภาพและการสังเคราะห์องค์ความรู้ การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้สถิติการวิจัยสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผลการวิจัย การเขียนและพัฒนาโครงร่างวิจัยและฝึกปฏิบัติ หลักการเขียนโครงการและรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

04-016-202 Nursing Research Methodology                        3(2-2-5)
Research methodology; code of ethics and code of conduct for researchers; systematic evidence review; quality assessment and knowledge synthesis; qualitative and quantitative research design; instrument construction and development; psychometric test; data collecting; use of research statistics for data analysis; performing data analysis using computer program; presenting of research results; discussion of research results; writing and developing research proposal; principles of writing projects and completed research reports
04-016-203 ภาวะผู้นำทางการพยาบาลกับระบบสุขภาพ           2(2-0-4)
สถานการณ์และแนวโน้มของนโยบายและระบบสุขภาพ ปัจจัยที่มีผลกระทบกับระบบสุขภาพ กระบวนการพัฒนานโยบายสุขภาพ ระบบสุขภาพและรูปแบบบริการสุขภาพ วัฒนธรรมในระบบสุขภาพและการให้บริการ ระบบสาธารณสุขชายแดน ภาวะผู้นำทางการพยาบาล การบริหารจัดการทางการพยาบาล การพัฒนาคุณภาพและผลลัพธ์ทางการพยาบาล บทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในระบบสุขภาพ การจัดการประเด็นทางจริยธรรม กฎหมายและจริยธรรม

04-016-203 Nursing Leadership and Health Systems         2(2-0-4)
Situations and trends of health policies and systems; factors influencing health systems; health policy development process; health systems and health services; culture of health systems and health services; border healthcare system; nursing leadership; nursing administration and management; nursing quality and outcome improvement; roles of advanced practice nurses in health systems; ethical issues management; laws and ethics
04-016-204 เทคโนโลยีนวัตกรรมทางสุขภาพและการพยาบาล 2(1-2-3)
ความสำคัญและคุณค่าของเทคโนโลยีทางสุขภาพ ประเภทของเทคโนโลยีทางสุขภาพ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพในการพยาบาล การออกแบบนวัตกรรมทางสุขภาพและการพยาบาล ฝึกปฏิบัติการออกแบบนวัตกรรมทางสุขภาพและการพยาบาล

04-016-204 Technology and Innovation in Health and Nursing   2(1-2-3)
Importance and values of health technology; types of health technology; applying of health technology in nursing; health and nursing innovation design; health and nursing innovation design practice
04-016-205 พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชบำบัดในการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ     2(2-0-4)
แนวคิดเกี่ยวกับโรคและอาการทางคลินิกที่พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การตอบสนองและการปรับตัวของเซลล์และอวัยวะในร่างกายเมื่อเกิดความผิดปกติ ปัญหาทางคลินิกและการรักษา การบำบัดด้วยการใช้ยา และหลักการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

04-016-205 Pathophysiology and Pharmacotherapy
 in Adult and Gerontological Nursing    2(2-0-4)
Concept of common diseases and clinical symptoms in adults and older adults; Responses and adaptation of abnormal cells and organs; clinical problems and treatments; pharmacotherapy; and rational drug use in adults and older adults
04-016-206 การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ   2(1-2-3)
หลักการประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย   การแปลผลการตรวจพิเศษหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพในการประเมินภาวะสุขภาพ ฝึกปฏิบัติประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการเขียนรายงาน

04-016-206 Advanced Health Assessment in Adults and Older Adults  2(1-2-3)
Principle of advanced health assessment in adults and older adults; history taking; physical examination; interpretation of special diagnostics or laboratory testing; use of health technology in health assessment; practice health assessment and report
04-016-207 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง                 2(2-0-4)
ปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนและพบบ่อยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจากโรคติดต่อชายแดนหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ แนวคิดการพยาบาลในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การจัดการปัญหาสุขภาพ การพัฒนาผลลัพธ์ทางการพยาบาล บูรณาการใช้ศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล หลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ เทคโนโลยีทางสุขภาพ การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล การใช้การบำบัดเสริม การบำบัดทางเลือก และการดูแลแบบประคับประคอง บนพื้นฐานหลักจริยธรรมเชิงวิชาการและวิชาชีพ และบริบทสังคมและความหลากหลายทางวัฒนธรรม

04-016-207 Advanced Adult and Gerontological Nursing  2(2-0-4)
Complex and common health problems in adults and older adults; border health problems or emerging communicable diseases; concepts of adult and gerontological nursing; health problem management; nursing outcomes development; integrated nursing science, related science, concepts and theories of nursing, evidence based, health technology, rational drug use, additional treatments, alternative treatments, and palliative care based on academic and professional ethics, social context and cultural diversity
04-016-208 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 1      3(0-9-0)
ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูงที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนหรือโรคที่พบบ่อยที่เลือกสรรเป็นรายบุคคล การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูง บูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ เทคโนโลยีทางสุขภาพ การให้เหตุผลเชิงคลินิก ประเด็นทางจริยธรรม มุ่งให้การพยาบาลที่ครอบคลุมองค์รวมและมิติด้านสุขภาพ การประสานความร่วมมือกับทีมพยาบาลและสหสาขาวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล บนพื้นฐานหลักสิทธิผู้ป่วย กฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม

04-016-208 Advanced Adult and Gerontological Nursing Practicum I    3(0–9-0)
Practice advanced nursing in adults and older adults with complex or common health problems in selected case; advanced health assessment; integrated nursing science, related science, evidence based, health technology, clinical reasoning, ethical dilemmas; providing holistic nursing care and health dimensions; collaboration between nurses and multidisciplinary teams to develop the quality of care based on patient rights, ethics, and professional law, and cultural diversity
04-016-209 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 2      3(0-9-0)
ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูงในกลุ่มที่เลือกสรร โดยวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว และสถานการณ์ของระบบบริการพยาบาลและบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมิน ออกแบบ และพัฒนารูปแบบนวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติโครงการในการพัฒนาผลลัพธ์และคุณภาพทางการพยาบาลในกลุ่มที่เลือกสรร โดยบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ เทคโนโลยีทางสุขภาพ และการประสานความร่วมมือกับทีมสุขภาพเพื่อนำสู่การปฏิบัติและประเมินคุณภาพและผลลัพธ์

04-016-209 Advanced Adult and Gerontological Nursing Practicum II    3(0-9-0)
Practice advanced nursing in adults and older adults in selected group; analyzing health problems and needs of patients and families, and related nursing and health care system to assessment, design, and develop model innovation or clinical practice guideline project for developing nursing outcomes and quality of care in selected group; integrated nursing science, related science, evidence based, health technology; collaboration with health care team for implementation and evaluation the outcomes
04-016-301 การพัฒนาบทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง  3(2-2-5)
          พัฒนาการของการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงและการพัฒนาบทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงของประเทศไทยและนานาชาติ แนวคิดและรูปแบบของการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สมรรถนะของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง การพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญในบทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง และการพัฒนาผลลัพธ์และคุณภาพการพยาบาลของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล

04-016-301 Role Development of Advanced Practice Nurse           3(2-2-5)
Development of advanced nursing practice and role development of advanced practice nurse in Thailand and other countries, concept and forms of advanced nursing practice; competency of advanced practice nurses; competency development in advanced practice nurses, nursing outcomes and quality of care development in advanced practice nurses by applying nursing empirical evidence
04-016-302 การให้เหตุผลเชิงคลินิก                                        3(2-2-5)
 แนวคิดและความหมายของการให้เหตุผลเชิงคลินิก ประเภทและรูปแบบของการให้เหตุผลเชิงคลินิก กระบวนการให้เหตุผลเชิงคลินิก กลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนากระบวนการตัดสินใจและให้เหตุผลเชิงคลินิก ระบุ วิเคราะห์ และตัดสินปัญหาทางคลินิกโดยบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์

04-016-302 Clinical Reasoning                                      3(2-2-5)
Concept and definition of clinical reasoning; types and forms of clinical reasoning; process of clinical reasoning; significant strategies in the process of decision making and clinical reasoning; stating, analyzing, and clinically judging with the integration of nursing, other fields of science, and empirical evidence of knowledge
04-016-303 การเผยแพร่ผลงานวิชาการทางการพยาบาลและสุขภาพ  3(2-2-5)
บทบาท หน้าที่ และจริยธรรมของนักวิชาการในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ประเภทของผลงานทางวิชาการ รูปแบบและวิธีการเผยแพร่ หลักการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางการพยาบาลหรือวารสารทางสุขภาพ องค์ประกอบและวิธีการนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบโปสเตอร์และอื่น ๆ เพื่อนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ ฝึกปฏิบัติการเขียนบทความวิชาการและจัดเตรียมโปสเตอร์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ

04-016-303 Academic Dissemination in Nursing and Health    3(2-2-5)
Roles, responsibilities, and ethics of scholars in academic dissemination; types of academic papers; forms and ways of dissemination; principle of academic paper writing for nursing or health academic dissemination; components and ways of disseminating in the form of posters and other forms for national or interpersonal conference presentation; academic journal writing and poster preparation for academic dissemination
04-016-304 นิเวศวิทยาทางสุขภาพและการพยาบาล         3(2-2-5)
แนวคิดหลักการสำคัญของนิเวศวิทยาทางสุขภาพและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล ประเด็นสุขภาพและความเจ็บป่วยที่ได้รับอิทธิพลจากบริบทสังคม สิ่งแวดล้อม หรือวัฒนธรรม ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น วิเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาสุขภาพของประชากรในประเด็นที่นักศึกษาเลือกสรร และศึกษาดูงานในหน่วยงานทางสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
04-016-304 Ecological Health and Nursing           3(2-2-5)
Concept and principle of ecological health and its application in nursing practice; health and diseases from the influences of social, environmental, or cultural context, in terms of global, regional, national, and local level; health analysis and presenting of solution model in selected issues; field trips in related health organizations
04-016-305 การสอนทางการพยาบาล                                   3(2-2-5)
ทฤษฎีการเรียนการสอน แนวคิดและหลักการสอนทางคลินิก บทบาทและคุณธรรมจริยธรรมของครูคลินิก หลักการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการศึกษาและการเขียนวัตถุประสงค์การสอนทางคลินิก รูปแบบและกลวิธีการสอนทางคลินิก การประเมินผลทางคลินิก หลักการและการฝึกสอนจุลภาค การเขียนแผนการสอน และฝึกปฏิบัติการสอนในคลินิก

04-016-305 Teaching in Nursing                             3(2-2-5)
Teaching and learning theory; concepts and principles of clinical teaching; clinical instructor roles; moral and ethics of clinical instructor; principles of educational and clinical learning objectives; models and teaching strategies of clinical teaching; clinical evaluation; microteaching principles and practicum; lesson plan writing and clinical teaching practicum
04-014-306 การจัดการทางการพยาบาล                              3(2-2-5)
          ทฤษฎีการบริหารและการจัดการ หลักจริยธรรมและจริยศาสตร์ในการบริหารและการจัดการ กระบวนการบริหารจัดการ รูปแบบและวิธีการบริหารจัดการองค์การพยาบาลและการจัดการทางคลินิก การจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการทรัพยากรบุคคล การพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล การประยุกต์หลักเศรษฐศาสตร์สุขภาพและเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการทางการพยาบาล หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน การบริหารการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิเคราะห์การบริหารองค์การและบทบาทผู้จัดการทางการพยาบาล

04-014-306 Nursing Management                        3(2-2-5)
Theory of administration and management; principles of morality and ethics in nursing administration and management; administrative and management process; model and method of nursing organizational administration and clinical management; strategy management; human resources management; nursing quality development; application of health economics and sufficient economy in nursing management; good governance in management; change management in cultural diversity; analysis of organizational administration and role of nurse manager
04-016-401 วิทยานิพนธ์                                         12(0-36-0)
         
การพัฒนาและจัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ การกำหนดโจทย์/หัวข้อวิทยานิพนธ์ตามปัญหาทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เลือกสรร การทบทวนและสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาเครื่องมือและวิธีการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล การจัดทำรายงานวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์และบทความวิจัย การนำเสนอและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา การดำเนินการวิจัยบนพื้นฐานจรรยาบรรณนักวิจัยและจริยธรรมเชิงวิชาการและวิชาชีพ

04-016-401 Thesis                                             12(0-36-0)
Development and writing of thesis proposal; thesis title setting according to the selected nursing issues in adult and older adults; literature review and synthesis; research tool and methodology development; data collection; data analysis and interpretation; completed thesis report and research paper; presentation and dissemination according to the graduation guideline; research conduction under the researcher ethics and academic and professional code of conduct
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs) หลักสูตรกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) จำนวน 8 ข้อ และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรย่อย (Sub – PLO) ดังนี้
PLO1
แสดงออกถึงการมีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพทางการพยาบาล รวมทั้งจริยธรรมการวิจัยและจริยธรรมเชิงวิชาการ
 
1.1 แสดงออกถึงมีคุณธรรมจริยธรรมในการทำวิจัยหรือนวัตกรรมทางการพยาบาล โดยไม่คัดลอกผลงานของตนเองและผู้อื่น และอ้างอิงผลงานอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล
 
1.2 แสดงออกถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ โดยปฏิบัติงานอย่างมีสติสัมปชัญญะ เมตตากรุณา ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ คำนึงถึงประเด็นทางจริยธรรมและการให้คุณค่าแก่ผู้รับบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ และปฏิบัติงานอย่างมีความสุข
PLO 2
แสดงออกถึงทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะในสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง โดยบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล วิทยาศาสตร์สุขภาพที่ทันสมัย ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ สังคมวัฒนธรรม ประเด็นทางจริยธรรม การให้คุณค่าของผู้รับบริการ และการให้เหตุผลทางคลินิก เพื่อมุ่งให้การพยาบาลที่ครอบคลุมมิติการดูแลและครบองค์รวมแก่ผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่เจ็บป่วยซับซ้อนจากปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและปัญหาสุขภาพชายแดนทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤต เรื้อรัง และระยะสุดท้าย
 
2.1 ประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงในผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
 
2.2 วินิจฉัยและจัดการปัญหาสุขภาพซับซ้อนในผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
 
2.3 ประเมินผลลัพธ์และคุณภาพทางการพยาบาลในผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
PLO 3
ผลิตและสังเคราะห์องค์ความรู้ หรือสร้างสรรค์งานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการพยาบาล ที่ผสมผสานเทคโนโลยีทางสุขภาพและสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและปัญหาสุขภาพชายแดนในผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤต เรื้อรัง และระยะสุดท้าย
 
3.1 สังเคราะห์องค์ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลลัพธ์และคุณภาพทางการพยาบาล และการสร้างสรรค์งานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการพยาบาล
 
3.2 ผลิตงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการพยาบาลที่ผสมผสานเทคโนโลยีทางสุขภาพและสอดคล้องกับประเด็นปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนในผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
PLO4
เผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการพยาบาล สู่พยาบาล สหสาขาวิชาชีพ ผู้รับบริการ และประชาชนทั่วไปได้อย่างมีมาตรฐานและสู่สากล
 
4.1 ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่พยาบาล สหสาขาวิชาชีพ ผู้รับบริการ และประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
 
4.2 นำเสนอผลงานในเวทีวิชาการระดับชาติ และ/หรือนานาชาติ
 
4.3 เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ
PLO5
แสดงบทบาทความเป็นผู้นำทางการพยาบาลและการทำงานเป็นทีมในการพัฒนาผลลัพธ์และคุณภาพทางการพยาบาลของผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน
 
5.1 เป็นผู้นำในการริเริ่มและจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อพัฒนาผลลัพธ์และคุณภาพทางการพยาบาลของผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน
 
5.2 ประสานงานและทำงานเป็นทีมร่วมกับพยาบาล สหสาขาวิชาชีพ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
PLO6
ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณ
 
6.1 ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลลัพธ์และคุณภาพทางการพยาบาลของผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
 
6.2 ใช้กระบวนการให้เหตุผลทางคลินิก เพื่อมุ่งให้การพยาบาลที่ครอบคลุมมิติการดูแลและครบองค์รวมแก่ผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
 
6.3 ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติอย่างเป็นระบบ เพื่อนำสู่การปฏิบัติการพยาบาล และการสร้างสรรค์งานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการพยาบาล
PLO7
รู้เท่าทันและเลือกใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ ทักษะการสื่อสาร และการจัดการเชิงระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
7.1 สืบค้น รวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทันสมัย วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
 
7.2 สื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางสุขภาพแก่ผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน และครอบครัว โดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยและเหมาะสม
 
7.3 จัดทำฐานข้อมูลทางสุขภาพในผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน โดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยและเหมาะสม
PLO8
พัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืนและและเรียนรู้บนระบบเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

นักศึกษาสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา โดยมีข้อมูลหลักสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ดังนี้

NS PNU

FACULTY OF NURSING

PRINCESS OF NARADHIWAS UNIVERSITY

ติดต่อคณะ

ที่อยู่

คณะพยาบาลศาสตร์

อีเมล

nurse@pnu.ac.th

เบอร์โทรศัพท์

073-709-030

© NS PNU. All Rights Reserved. สำหรับเจ้าหน้าที่