หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล

ภาษาไทย : หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. 2563

ภาษาอังกฤษ : Certificate Program for Practical Nursing

ชื่อประกาศนียบัตรภาษาไทย: ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล

ชื่อประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษ : Certificate for Practical Nursing

ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีความเชื่อว่าสุขภาพเป็นเรื่อง สำคัญในการมีคุณภาพชีวิต ผู้ช่วยพยาบาลเป็นทีมสุขภาพที่สำคัญในการช่วยเหลือดูแลบุคคลด้านความต้องการขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนและอันตราย ต่าง ๆ และการฟื้นฟูสภาพภายใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ภายใต้บริบทความหลากหลายทางวัฒนธรรม

มุ่งผลิตพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานสากล สามารถปฏิบัติงานอย่างมีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม เก่งเทคโนโลยี บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพและสร้างชุมชนเข้มแข็งด้านสุขภาพ บนพื้นฐานการวิจัย โดยบุคลากรมืออาชีพ บริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล เพื่อสังคมสมานฉันท์สันติสุข ก้าวสู่ประชาคมคุณภาพแห่งอาเซียน

  นิยามปรัชญา

           มุ่งผลิตพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานสากล หมายถึง ผลิตพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของสภาการพยาบาล และมาตรฐานของอาเซียน (AUN) และอาจรวมถึงมาตรฐานโลก (CUPT)

           สามารถปฏิบัติงานอย่างมีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม หมายถึง ความสามารถในการให้บริการพยาบาลที่สอดคล้องกับความต้องการและวัฒนธรรมของผู้รับบริการ

           เก่งเทคโนโลยี หมายถึง ความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และการพยาบาล

           บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพ หมายถึง การให้บริการวิชาการแก่บุคลากรทางการพยาบาล และการสาธารณสุขในฐานะสถาบันการศึกษาต่อเนื่องของสภาการพยาบาล

           สร้างชุมชนที่มีความเข้มแข็งด้านสุขภาพ หมายถึง การให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง โดยการเพิ่มศักยภาพของคนและชุมชนให้มีความพร้อมในการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน สะท้อนได้จากกลไกความเข้มแข็งของชุมชน ปัจจัยที่เอื้อหรือก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน และกระบวนการที่นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน

           บนพื้นฐานการวิจัย หมายถึง การนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการผลิตบัณฑิต การให้บริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

           บุคลากรมืออาชีพ หมายถึง บุคลากรที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาล ประสบการณ์สอนทางการพยาบาล ตำแหน่งทางวิชาการ ผลงานวิชาการ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

           บริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล หมายถึง การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุม ดูแลกิจการต่างๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม ทั้งหลักธรรมทางศาสนา ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวงที่วิญญูชนพึงมี อาทิ หลักประสิทธิผล ประสิทธิภาพ การตอบสนอง ภาระรับผิดชอบ ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ นิติธรรม ความเสมอภาค และมุ่งเน้นฉันทามติ

           สังคมสมานฉันท์สันติสุข หมายถึง การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสมัครสมานสามัคคี และสงบสุข

           ก้าวสู่ประชาคมคุณภาพแห่งอาเซียน หมายถึง การดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้บรรลุความเจริญร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น การประสานความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา การวิจัย การให้บริการวิชาการ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน

ศึกษา วิจัย วิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพและสังคมศาสตร์ เป็นรากฐานในการพัฒนาคน ชุมชน สังคมของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ภายหลังสำเร็จการศึกษาหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะมความสามารถและคุณลักษณะ ดังต่อไปนื้

1.ช่วยเหลือดูแลบุคคลด้านความต้องการขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและอันตรายต่าง ๆ และการฟื้นฟูสภาพภายใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์

2.ติดตามและบันทึกการเปลี่ยนแปลงอาการและอาการแสดงของโรคและความต้องการของ ผู้ป่วยและญาติตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์มอบหมาย

3.ช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมในการตรวจรักษาพยาบาลที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

4.ช่วยทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์

5.มีทัศนคติที่ดีต่อการช่วยเหลือดูแลบุคคล

6.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ทีมสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

7.มีคุณรรรมและจริยธรรม

หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล ใช้ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษาปกติ และ 1 ภาคการศึกษาฤดูร้อน

แผนการเรียน
ภาคเรียนที่ 1 (15 – 18 สัปดาห์)
รหัสวิชาขื่อวิชาหน่วยกิต
ผช 101ภาษาอังกฤษและศัพท์ทางการแพทย์2(2-0-4)
ผช 102พัฒนาการตามวัยกับความต้องการของมนุษย์2(2-0-4)
ผช 103การสื่อสารและการทำงานเป็นทีมในการให้บริการสุขภาพ2(2-0-4)
ผช 201หลักกฎหมาย ขอบเขต และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน1(1-0-2)
ผช 202สุขภาพ อนามัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม1(1-0-2)
ผช 203ระบบการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วย1(1-0-2)
ผช 204เทคนิคการช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน3(2-3-5)
ผช 205ระบบการทำงานหน่วยบริการสุขภาพและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์และการพยาบาล2(2-0-4)
ผช 206กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น2(2-0-4)
ผช 207การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ3(3-0-6)
ผช 208การอภิบาลทารกและช่วยเหลือดแลเด็ก2(2-0-4)
รวม21(20-3-41)
แผนการเรียน
ภาคเรียนที่ 2 (15 – 18 สัปดาห์)
รหัสวิชาขื่อวิชาหน่วยกิต
ผช 209การช่วยเหลือดูแลบุคคลด้านสุขภาพจิต2(2-0-4)
ผช 210การช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลที่บ้านและในชุมชน2(2-0-4)
ผช 211ปฏิบัติmรช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน2(2-0-4)
ผช 212ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ1(1-0-2)
ผช 213ปฏิบัติการอภิบาลทารกและช่วยเหลือดูแลเด็ก1(1-0-2)
รวม11(3-32-14)
แผนการเรียน
ภาคฤดูร้อน (9 สัปดาห์)
รหัสวิชาขื่อวิชาหน่วยกิต
ผช 214ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลที่บ้านและในชุมชน2(0-8-2)
ผช 301ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลในสถานพยาบาล2(0-8-2)
รวม4(0-16-4)
ก.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
1. รหัสวิชา ผช 101 ภาษาอังกฤษและศัพท์ทางการแพทย์(2 หน่วยกิต) 2(2-0-4)
(English Language and Medical Vocabulary)
คำศัพท์ โครงสร้างไวยากรณ์ การใช้ภาษาอังกฤษ และการใช้ศัพท์ทางการแพทย์ที่จำเป็น
2.  รหัสวิชา ผช 102 พฒนาการตามวัยกับความต้องการของมนุษย์ (2 หน่วยกิต) 2(2-0-4)
(Human Development and Needs)
มโนมติและทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยาทั่วไป พัฒนาการตามวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุความต้องการพื้นฐาน พฤติกรรม การรับรู้ การเรียนรู้ การคิด และการปรับตัวของ มนุษย์
3. รหัสวิชา ผช 103 การสือสาร และการทำงานเป็นทีมในการให้บริการสุขภาพ (2 หน่วยกิต) 2(2-0-4)
(Communications and Team work for Health Care)
หลักการติดต่อสื่อสาร การสื่อสารในองค์กร การประยุกต์หลักการสื่อสารใน การให้บริการสุขภาพลักษณะของกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม การทำงานเป็นทีม ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีม การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มและการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมการทำงาน
ข.หมวดวิชาเฉพาะ
1. รหัสวิชา ผช 201 หลักกฎหมาย ขอบเขต และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน (1 หน่วยกิต) 1(1-0-2)
(Laws and Ethics in Practice)
หลักจริยธรรมในการช่วยเหลือดูแล จริยธรรมของผู้ช่วยเหลือดูแลและผู้ร่วมงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. รหัสวิชา ผช 202 สุขภาพ อนามัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม (1 หน่วยกิต) 1(1-0-2)
(Health, Personal Health and Environment)
แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาวะและความเจ็บป่วย ความต้องการการดูแลสุขภาพแต่ละวัย อนามัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดูแลและระบบบริการสาธารณสุข
3. รหัสวิชา ผช 203 ระบบการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วย (1 หน่วยกิต) 1(1-0-2)
(Dietary System Management for Clients)
ส่วนประกอบและคุณค่าของอาหาร ความต้องการสารอาหารของบุคคลในภาวะปกติ เจ็บป่วย และผู้สูงอายุ ประเภทของอาหารเฉพาะโรค ระบบการจัดการอาหารสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้สูงอายุ และอาหารเฉพาะโรคที่พบบ่อยและไม่ยุ่งยากซับซ้อน
4. รหัสวิชา ผช 204 เทคนิคการช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน (3 หน่วยกิต) 3(2-3-5)
(Techniques and Basic Care for Clients)
เทคนิคในการดูแลบุคคลด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมทั้งฝึกปฏิบัติเทคนิคการช่วยเหลือ ดูแลบุคคลด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้ปลอดภัยและสุขสบาย
5. รหัสวิชา ผช 205 ระบบการทำงานหน่วยบริการสุขภาพและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์และการพยาบาล(2 หน่วยกิต) 2(2-0-4)
(Health Care Working System and Maintenance of Medical and Nursing Supplies)
แนวคิดเกี่ยวกับระบบการจัดการในหน่วยบริการสุขภาพ การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ ในการแพทย์ และการพยาบาล ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้
6. รหัสวิชา ผช 206 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น (2 หน่วยกิต) 2(2-0-4)
(Anatomy and Physiology)
โครงสร้าง หน้าที่ กลไกการทำงานของเซลล์ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของระบบปกคลุม ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบเลือดและอวัยวะสร้างเลือด ระบบไหลเวียน ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ระบบอวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ
7. รหัสวิชา ผช 207 การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (3 หน่วยกิต) 3(3-0-6)
(Caring for Adults and Elderly)
สาเหตุ อาการ อาการแสดง และแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุที่มี ภาวะสุขภาพปกติและเจ็บป่วยด้วยโรคที่พบบ่อยและไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรืออยู่ในภาวะพึ่งพิง ให้สามารถดำเนินชีวิตในด้านกิจวัตรประจำวันได้ตามอัตภาพ
8. รหัสวิชา ผช 208 การอภิบาลทารกและช่วยเหลือดูแลเด็ก (2 หน่วยกิต) 2(2-0-4)
(Caring for Infant and Children)
การเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกและเด็ก การดูแลทารกและเด็กวัยต่าง ๆ รวมทั้งการอภิบาลทารกและดูแลเด็กในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคที่พบบ่อยและไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน
9. รหัสวิชา ผช 209 การช่วยเหลือดูแลบุคคลด้านสุขภาพจิต (1 หน่วยกิต) 1(1-0-2)
(Caring for Home and Community Based)
แนวคิดการดูแลบุคคลที่มีภาวะสุขภาพจิตเบี่ยงเบนเล็กน้อย รวมทั้งผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นทางด้านจิตอารมณ์ และสังคม
10. รหัสวิชา ผซ 210 การช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลที่บ้านและในชุมชน (2 หน่วยกิต) 2(2-0-4)
(Caring for Clients with Mental Health)
แนวคิดการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกวัย ตลอดจนคนพิการที่เจ็บป่วย ด้วยโรคที่พบบ่อยและไม่ยุ่งยากซับซ้อน อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยเฉพาะที่บ้านและในชุมขน
11.  รหัสวิชา ผช 211 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน (3 หน่วยกิต) 3(0-12-3)
(Caring Practice Basic Care for Clients)
ฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลบุคคล และการช่วยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในการดูแลบุคคลด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้สามารถ ดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัยและสุขสบาย รวมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการบันทึกรายงาน
12. รหัสวิชา ผช 212 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (3 หน่วยกิต) 3(0-12-3)
(Caring Practice for Adults and Elderly)
ฝึกปฏิบัติการให้การช่วยเหลือดูแลกิจวัตรประจำวัน ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ด้วยโรคที่พบบ่อยและไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรออยู่ในภาวะพึ่งพิง
13. รหัสวิชา ผซ 213 ปฏิบัติการอภิบาลทารกและช่วยเหลือดูแลเด็ก (2 หน่วยกิต) 2(0-8-2)
(Caring Practice for Infant and Children)
ฝึกปฏิบัติการอภิบาลทารกและให้การช่วยเหลือดูแลเด็กที่มีสุขภาพดีและเด็กป่วยด้วยโรคที่พบบ่อยและไม่ยุ่งยากซับซ้อน
14. รหัสวิชา ผช 214 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลที่บ้านและในชุมชน (2 หน่วยกิต) 2(0-8-2)
(Caring Practice forHome and Community Based)
ฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ที่เจ็บป่วยด้วย โรคที่พบบ่อยและไม่ยุ่งยากซับซ้อน อยู่ในภาวะพึ่งพิง ทั้งที่บ้านและในขุมซน ดูแลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ เกิดจนตายทั้งในภาวะปกติและเจ็บป่วย
ค.หมวดวิชาเลือก
1. รหัสวิชา ผช 301 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลในสถานพยาบาล(2 หน่วยกิต) 2(0-8-2)
(Caring Practice for Health Service Setting)
ฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพเด็ก หรือผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรค ที่พบบ่อยและไม่ยุงยากชับซ้อนหรืออยู่ในกาวะพึ่งพิงในสถานพยาบาล
2. รหัสวิชา ผช 302 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลในชุมชน (2 หน่วยกิต) 2(0-8-2)
(Caring Practice for Community Based Clients)
ฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ บุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในชุมชน
การวัดการประเมิน
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาต้อง
1 มีเวลาการศึกษาในหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2 การประเมินผลภาคทฤษฎีต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ตํ่ากว่า 2 จากระบบ 4 แต้ม ระดับคะแนน
3 การประเมินผลภาคปฏิบัติทุกรายวิชาต้องได้แต้มระดับคะแนนไม่ตํ๋ากว่า 2 จากระบบ 4 แต้ม ระดับคะแนน
NS PNU

FACULTY OF NURSING

PRINCESS OF NARADHIWAS UNIVERSITY

ติดต่อคณะ

ที่อยู่

คณะพยาบาลศาสตร์

อีเมล

nurse@pnu.ac.th

เบอร์โทรศัพท์

073-709-030

© NS PNU. All Rights Reserved. สำหรับเจ้าหน้าที่